แอร์แน็สต์ ดูดาร์ เดอ ลาเกร
แอร์แน็สต์ ดูดาร์ เดอ ลาเกร

แอร์แน็สต์ ดูดาร์ เดอ ลาเกร

แอร์แน็สต์ มาร์ก หลุยส์ เดอ กงซาก ดูดาร์ เดอ ลาเกร (ฝรั่งเศส: Ernest Marc Louis de Gonzague Doudart de Lagrée, 31 มีนาคม ค.ศ. 1823 – 12 มีนาคม 1868) เป็นหัวหน้าคณะสำรวจแม่น้ำโขงของประเทศฝรั่งเศส ระหว่างปี ค.ศ. 1866–1868[1]ดูดาร์ เดอ ลาเกร เกิดที่แซ็ง-แว็งซ็อง-เดอ-แมร์กูซ (Saint-Vincent-de-Mercuze) ใกล้เมืองเกรอนอบล์ ประเทศฝรั่งเศส และสำเร็จการศึกษาจากเอกอลปอลีแต็กนิก[2] เขาได้เข้ารับราชการในกองทัพเรือฝรั่งเศสและเข้าร่วมรบในสงครามไครเมีย ก่อนจะย้ายมาประจำการที่ไซ่ง่อน ในอินโดจีนฝรั่งเศส ด้วยหวังว่าสภาพภูมิอากาศของที่นี่จะช่วยเยียวยาโรคแผลในกระเพาะอาหาร (Peptic ulcer) ที่เขาเป็นเรื้อรังได้ แต่โรดนี้รักษาไม่หาย และตลอดช่วงการสำรวจแม่น้ำโขง อาการโรคดังกล่าวของเขามักกำเริบอยู่บ่อยครั้ง ในช่วงที่ประจำการอยู่ที่ไซ่ง่อนนี้เอง เขาได้ประสบความสำเร็จในการทำสนธิสัญญากับกัมพูชา ซึ่งทำให้กัมพูชาตกลงยอมเป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม ค.ศ. 1863 โดยทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในสนธิสัญญาดังกล่าวที่เมืองไซ่ง่อนคณะสำรวจแม่น้ำโขงภายใต้การนำของดูดาร์ เดอ ลาเกร ได้เดินทางออกจากไซ่ง่อนเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ. 1866 ระหว่างการเดินทางนอกจากจะต้องเผชิญกับโรคแผลในกระเพาะอาหารแล้ว เขายังต้องทนทรมานจากการเป็นไข้ ป่วยด้วยโรคบิดมีตัว และมีแผลติดเชื้อจากการถูกปลิงกัด เนื่องจากคณะสำรวจจำเป็นต้องเดินเท้าเปล่าเมื่อรองเท้าที่ใช้อยู่หมดสภาพและไม่มีรองเท้าสำรองใช้ทดแทน เมื่อคณะสำรวจเดินทางมาถึงเขตตงชฺวาน ในมณฑลยูนนาน ประเทศจีน เขาก็ป่วยเกินกว่าที่จะเดินทางต่อได้อีก ฟร็องซิส การ์นีเย รองหัวหน้าคณะสำรวจ จึงต้องรับช่วงต่อหน้าที่หัวหน้าคณะสำรวจแทน การ์นิเยร์ได้นำคณะสำรวจเดินทางต่อไปยังเมืองต้าหลี่ และได้ฝากดูดาร์ เดอ ลาเกร ไว้อยู่ในความดูแลของแพทย์จนกระทั่งเขาเสียชีวิตลงจากโรคฝีในตับ แพทย์ได้ผ่าตัดเอาหัวใจของดูดาร์ เดอ ลาเกร ออกเพื่อนำกลับไปยังประเทศฝรั่งเศส ส่วนร่างของเขาได้ทำการฝังไว้ที่เขตตงชฺวานนั้นเองดูดาร์ เดอ ลาเกร ยังเป็นนักกีฏวิทยาอีกด้วย ชุดสะสมแมลงที่เขารวบรวมไว้จากทวีปแอฟริกาได้รับการเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส[3]

แอร์แน็สต์ ดูดาร์ เดอ ลาเกร

การยุทธ สงครามไครเมีย
บำเหน็จ เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ ชั้นที่ 3
Grande Médaille d'Or des Explorations
ยศสูงสุด นาวาโท (capitaine de frégate)
เหล่าทัพ ทหารเรือ
อาชีพอื่น นักสำรวจ, นักกีฏวิทยา
อนิจกรรมที่ ตงชฺวาน มณฑลยูนนาน ประเทศจีน
เกิดที่ แซ็ง-แว็งซ็อง-เดอ-แมร์กูซ ประเทศฝรั่งเศส
รับใช้ จักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 2